วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550

Week3

การเรียนJavaในWeekนี้ เป็นการเรียนเกี่ยวกับ ขนาด
และ การกำหนดตัวแปร โดยขนาดนั้นมีสองประเภทคือ
ขนาดใหญ่ และ ขนาดเล็ก คือ

ขนาดใหญ่ คือพวก Integer, Long Etc.

ขนาดเล็ก คือพวก Byte, Short Etc.

ซึ่งการใช้งานของตัวแปรคือ ถ้าตัวแปรมีขนาดเท่ากันทำอะไรกัน
จะไม่มีการเปลี่ยนชนิดข้อมูลชนิดนั้น
เช่น

1/3 = 0

เนื่องจากทั้ง 1 และ 2 คือจำนวนเต็ม เพราะฉะนั้นถ้าเอาไป / 0
ก็ต้องเป็นข้อมูลชนิดเดิมคือ จำนวนเต็ม
แต่ถ้าข้อมูล 2 ชนิดมีขนาดที่แตกต่างกันทำอะไรกัน
โปรแกรมจะแปลขนาดข้อมูลที่เล็กกว่าไปสู่ขนาดที่ใหญ่กว่าเสมอ
เช่น

2.0/4= 0.5

จะไม่เหมือนตัวอย่างแรกเนื่องจาก ตัวอย่างแรกเป็นจำนวนเต็มทั้งหมด
แต่ ตัวอย่างนี้มีการแปลงข้อมูลซึ่งทำให้หาข้อมูลได้กว้างขึ้น
ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่จำเป็นกำหนดเขตของข้อมูลให้กว้างที่สุดเสมอไป
เนื่องจากจะทำให้เราเกิดสับสนแล้ว ยังทำให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลช้าลงอีกด้วย
เป็นการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานหนักโดยใช่เหตุ
(เหมืน ขี่ตั๊กแตนจับช้าง ไม่ชาย -*- ขี่ช้างจับตั๊กแตนตางหาก555+)
การกำหนดตัวแปร
การประกาษตัวแปรนั้น เป็นการใช้ประโยชน์กับเมื่อมีจำนวนข้อมูลเยอะๆ
แล้วเอามาประมวลผลร่วมกัน ในทางอ้อม เหมือนเป็น
การป้องกันให้ผู้ใช้สับสนทางหนึ่ง
ซึ่งการประกาศตัวแปรของโปรแกรม java นี้
เป็นการประกาศใช้ Paramitter โดยใช้ array
โดยการประกาศตัวแปรหลักๆคือ

System.out.println(args[n])

โดย n คือจำนวนเต็ม (เริ่มจาก 0)
ซึ่งหลังการใช้ตัวแปรทั่วไปจะอยู่ในรูปของ String เสมอ
ถ้าอยากให้ตัวแปรนี้เปลี่ยนเป็นข้อมูลอื่นๆ
ให้ใส่ชนิดของข้อมูลนั้นๆ หน้าตัวแปรที่ประกาศ
เช่น
เมื่ออยากให้ตัวแปรเป็นจำนวนเต็ม

Integer.parseInt(args[n])

เป็นต้น
เมื่ออยากให้จำนวนเต็มที่เป็นตัวแปรบวกกันก็สามารถทำได้โดย

(Integer.parseInt(args[n]) + Integer.parseInt(args[n]))

แต่เวลาใช้ตัวแปรนั้น เราไม่สามารถ run ได้ด้วยโปรแกรม jcreator LE
ต้องใช้โปรแกรม Command Prompt ในการ run
เนื่องจากเราไม่สามารถกำหนดค่าของตัวแปรลงได้ในโปรแกรม
ในทางตรงกันข้าม ในCommand Prompt สามารถกำหนดได้
จากที่เห็นจากภาพคือโปรแกรมสามารถ Compile ได้ตามปกติ

แต่เมื่อ Run แล้วจะ Error เนื่องจากไม่มีค่าของตัวแปร
การใส่ค่าของตัวแปรใน Command Prompt
ทำได้ไม่ยากโดย Run ชื่อไฟล์แล้วตามด้วยตัวแปรนั้นๆ
แต่ต้องเว้นวรรค
เพื่อแบ่งตัวแปร
ตัวอย่างเช่น

java Project "Hello" "True" "AAA"

ซึ่งเมื่อใช้ตัวแปรที่เป็นเลขแล้ว เมื่อข้อมูลมีเยอะกว่าตัวแปร
โปรแกรมจะใช้เฉพาะข้อมูลชั้นที่มีตัวแปรอยู่เท่านั้น
เช่นถ้าเราประกาษแค่ตัวแปรเดียว แต่เรา Run โปรเจกโดย

java Project 1 2 3

โปรแกรมจะแสดงข้อมูลเฉพาะ 1 เท่านั้น

เมื่อ Run ใน Command Prompt โดยใส่ตัวแปรดังรูปจะได้ผลลัพธ์ออกมา
ผมหวังว่าคุณจะเข้าใจนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น: